International Voice Dialogue Agreement in English International Voice Dialogue Agreement in English
IVDA

ข้อตกลงร่วม
วอยซ์ไดอะล็อกนานาชาติ

เอกสารต่อไปนี้มีจุดมุ่งหมายจะอำนวยแนวทางที่สอดคล้อง สำหรับผู้ทำกระบวนการวอยซ์ไดอะล็อก (Voice Dialogue facilitators) และผู้สอนงานวอยซ์ไดอะล็อก (Voice Dialogue teachers) ความรู้ความเข้าใจในข้อแนะนำเหล่านี้ จะช่วยให้ผู้ที่สนใจเข้ารับการะบวนการวอยซ์ไดอะล็อก (Voice Dialogue facilitations) และผู้สนใจเข้าเรียนรู้ในหลักสูตร (courses) มีแนวทางในการเลือกบุคคลากรที่ตนเองจะทำกระบวนการ หรือเรียนรู้ด้วย


ต้นกำเนิด
introduction

บทนำ

ระหว่างกระบวนการพัฒนางานวอยซ์ไดอะล็อก, ฮัล และ ซิดรา สโตน ได้มองหารูปแบบระบบที่มีความเปิดกว้าง, โดยไม่มีลำดับขั้นเข้ามาเกี่ยวข้อง; ดังนั้น, การให้การรับรองคุณวุฒิแก่ผู้ปฏิบัติวิชาชีพ จึงไม่ใช่ทางเลือกที่ทั้งสองใช้มานับตั้งแต่ช่วงแรกเริ่มของกระบวนการพัฒนางาน ซึ่งส่งผลต่อมาให้รูปแบบวิธีการของตัวงานสามารถถูกนำไปประยุกต์ใช้ โดยผสานกับรูปแบบวิธีการอื่นๆ และสามารถหลอมรวมเข้ากับวิธีฝึกปฏิบัติอื่นๆอีกมากมายได้

ดังนั้น งานนี้จึงได้กระจายตัวกว้างขวางออกไป และทิ้งร่องรอยแห่งการเติบโตเอาไว้ในศาสตร์สาขาต่างๆมากมาย อาทิ: การพัฒนาตนเองระดับบุคคล, งานจิตบำบัด, งานจิตเวช, งานโค้ชชิ่ง, การพัฒนาองค์กร, งานให้คำปรึกษา, งานด้านความสัมพันธ์, การดูแลความขัดแย้ง, ศิลปะการแสดง และงานด้านการสร้างสรรค์ต่างๆ, การภาวนา, งานเขียน, การสื่อสารข้ามวัฒนธรรม วอยซ์ไดอะล็อกในวันนี้ ปรากฏระดับความลึกและองศาของงานที่แตกต่างกันมากมาย - ผ่านการสอนในระบบการฝึกอบรมทางการศึกษาที่หลากหลาย รวมถึงหลักสูตรระดับปริญญาโทในมหาวิทยาลัย

ตัวงานยังคงพัฒนาต่อไปในหลายประเทศ: อาร์เจนตินา, ออสเตรเลีย, ออสเตรีย, เบลเยี่ยม, บัลแกเรีย, แคนาดา, เดนมาร์ค, อังกฤษ, เอสโตเนีย, ฟินแลนด์, ฝรั่งเศส, เยอรมัน, เนเธอร์แลนด์, อิสราเอล, อิตาลี, เม็กซิโก, นิวซีแลนด์, นอร์เวย์, เกาหลี, โปแลนด์, รัสเซีย, แอฟริกาใต้, สเปน, สวีเดน, สวิตเซอร์แลนด์, ไทย, สหรัฐอเมริกา

clarification

ชี้แจง

ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องน่าพึงพอใจอย่างยิ่ง, อย่างไรก็ตาม, มีสิ่งที่เป็นข้อด้อยมากมายตามมาด้วยเช่นกัน ด้วยเหตุที่ไม่มีการให้การรับรองคุณวุฒิ และระบบควบคุมคุณภาพใดๆ, จึงมีผู้คนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ที่เสนอรับทำเซสชันและเปิดสอนหลักสูตรวอยซ์ไดอะล็อก แม้ว่าตนเองจะได้รับการฝึกฝนมาเพียงเล็กน้อย หรือทำกระบวนการ และสอน ด้วยชุดประสบการณ์ความรู้ที่พ้นสมัยไปแล้ว สิ่งเหล่านี้สร้างปัญหาให้กับผู้ที่มองหาผู้ทำกระบวนการ/ผู้สอนวอยซ์ไดอะล็อกที่มีประสบการณ์ และกับผู้ทำกระบวนการที่มีความรับผิดชอบ ซึ่งอยู่ในกระบวนการฝึกฝนตนเองในงานนี้อย่างต่อเนื่องมาหลายปี

ดังนั้น, เพื่อความกระจ่าง และเพื่อปกป้องความไว้วางใจที่มีต่อชื่อเรียก “Voice Dialogue facilitator” หรือ “ผู้ทำกระบวนการวอยซ์ไดอะล็อก”, จึงมีการจัดทำคำแนะนำแนวทางเพื่อรักษาคุณภาพและบรรทัดฐานของงานเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม, เราตระหนักถึงหลุมพรางแห่งความตายตัว, การรับรองคุณวุฒิ และการใช้ระบบลำดับขั้นด้วย สิ่งที่สำคัญในที่นี้คือ การใช้กระบวนการเท่าทันสภาพการมีตัวตน (Aware Ego process) เพื่อที่จะคานสมดุลระหว่างบรรทัดฐานและกฏเกณฑ์สำคัญต่างๆ ในด้านหนึ่ง กับ ความเป็นอิสระและความสร้างสรรค์ ในอีกด้านหนึ่ง

อีกชุดของคู่ตรงข้ามที่คล้ายคลึงกัน แต่มีความลึกซึ้งยิ่งขึ้นไปอีก คือ คู่ของขั้วตรงข้ามระหว่าง รูปแบบของตัวงาน กับ จิตวิญญาณของตัวงาน เช่นเดียวกับ ฮัล และ ซิดรา, เราหวังว่า เมื่อผ่านกาลเวลานานนับปี งานนี้จะยังคงเปล่งประกายผ่านเหล่าผู้ทำกระบวนการวอยซ์ไดอะล็อก และเหล่าผู้สอนงานวอยซ์ไดอะล็อก และในระดับลึกที่สุด, การพัฒนากระบวนการเท่าทันสภาพการมีตัวตน คือรูปแบบหนึ่งของการฝึกฝนการตระหนักรู้ - การฝึกฝนทางจิตใจและจิตวิญญาณ ดังนั้น, ในบริบทของการรักษาคุณภาพมาตรฐานของงาน, เราใส่ใจกับการที่จะไม่พรากเอาชีวิตและจิตวิญญาณของงานให้สูญไป

Think Tank

The Think Tank

ในช่วงฤดูร้อน ปี 2008, กลุ่ม “Think Tank” ได้พัฒนาขึ้น พร้อมกับการสนับสนุนจาก ฮัล และ ซิดรา สโตน กลุ่มนี้รวมตัวขึ้นโดย :

  • Franca Errani และ Giovanni Civita, (อิตาลี).
  • Robert Stamboliev และ Maria Daniels, (เนเธอร์แลนด์).
  • Geneviève Cailloux และ Pierre Cauvin, (ฝรั่งเศส).
  • Miriam Dyak, (สหรัฐอเมริกา).
  • J’aime ona Pangaia, (สหรัฐอเมริกา).
  • J. Tamar Stone, (สหรัฐอเมริกา).

ในช่วงฤดูใบไม้ร่วง ปี 2008 ณ งานรวมตัวของครูวอยซ์ไดอะล็อกนานาชาตินิวยอร์ก (NY Convergence of International Voice Dialogue Teachers) ซึ่งจัดโดย Martha Lou Wolff, ประเด็นเหล่านี้ได้ถูกยกมาพูดคุยกันต่อไปอีกโดยเหล่าสมาชิกที่เข้าร่วมงาน รวมไปถึงครูและผู้ทำกระบวนการอาวุโสในงานวอยซ์ไดอะล็อกจำนวนมาก ที่ทีม IVDA Think Tank ได้ติดต่อไปถึง ต่างได้เข้ามาให้ความร่วมมือในการทำเอกสารขั้นสุดท้ายชิ้นนี้ขึ้นมา


ข้อตกลง
บรรทัดฐานคุณภาพ ของงานวอยซ์ไดอะล็อก

อะไรที่ทำให้งานวอยซ์ไดอะล็อกเกิดประสิทธิผล? ทักษะใดบ้างที่จำเป็นสำหรับการเป็นผู้ทำกระบวนการวอยซ์ไดอะล็อก?

ผู้ทำกระบวนการวอยซ์ไดอะล็อกมีความเชี่ยวชาญในทฤษฎีจิตวิทยาของเหล่าตัวตน (Psychology of Selves) รู้จักและเข้าใจถึงองค์ประกอบที่แตกต่างทั้งหลายเป็นอย่างดี: เหล่ารูปแบบตัวตนหลัก (primary selves) และ เหล่ารูปแบบตัวตนที่ถูกปฏิเสธ (disowned selves), ด้านบอบบาง (vulnerablity) และด้านผู้มีอำนาจ (power), รูปแบบพลังงานทางสัญชาติญาณต่างๆ และ รูปแบบพลังงานข้ามพ้นตัวตนต่างๆ, แบบแผนเชื่อมโยงในความสัมพันธ์ (bonding patterns) ในคู่ความสัมพันธ์ต่างๆ, การทำงานกับความฝัน, พลังงานแม่แบบสากล (archetypes), ทักษะการทำงานกับพลังงาน และ ทักษะการทำกระบวนการวอยซ์ไดอะล็อกต่างๆ

นอกเหนือจากนี้, ผู้ทำกระบวนการวอยซ์ไดอะล็อก ต้องเคยผ่านกระบวนการด้วยตนเอง และยังคงดำรงตนอยู่ในกระบวนการอย่างสม่ำเสมอ ให้กระบวนการยังดำเนินแผ่ขยายอย่างต่อเนื่องอยู่ในองค์ประกอบดังกล่าวเหล่านี้, มีประสบการณ์ตรงของตัวเองกับงานในระดับลึก และได้หลอมรวมประสบการณ์ทั้งหมดนี้เข้าด้วยกันอย่างต่อเนื่อง

ข้อแนะนำที่เราจะอธิบายต่อไปนี้ เป็นสิ่งที่มีชีวิตอยู่ภายในกระบวนการ มากกว่าที่จะเป็นเงื่อนไขที่หยุดนิ่งอยู่กับที่ สิ่งเหล่านี้สามารถพัฒนา และถูกขัดเกลาเพิ่มเติมต่อไปได้อย่างไร้ขีดจำกัด; ในทางกลับกัน มันจะสูญหายไปหากผู้นั้นมิได้ฝึกฝนต่อเนื่องอยู่ตลอดในกระบวนการส่วนบุคคลของตนเอง (แม้แต่ผู้ที่เคยมีประสบการณ์ในงานมามากมาก่อนแล้วก็ตาม) เพื่อที่จะก้าวเข้ามาและดำรงตนอยู่ในการเป็นผู้ทำกระบวนการวอยซ์ไดอะล็อกที่มีทักษะ, จึงแนะนำเป็นอย่างยิ่ง ให้ผู้ทำกระบวนการวอยซ์ไดอะล็อกรักษาการฝึกฝนส่วนบุคคลของตน ด้วยการเข้ารับกระบวนการของตนเองอยู่อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ, เพื่อเรียนรู้ว่าสิ่งใดที่ใช้การได้ และสิ่งใดที่ใช้การไม่ได้จริง และนี่ยังเป็นโอกาสที่ผู้ทำกระบวนการวอยซ์ไดอะล็อกจะได้มีประสบการณ์ด้วยตนเอง เกี่ยวกับรูปแบบตัวตนภายในต่างๆ ที่กว้างขวางและหลากหลายประเภทขึ้น ซึ่งจะกลายเป็นชุดพลังงานที่สามารถถูกเรียกขึ้นมาได้ ผ่านกระบวนการเท่าทันสภาพการมีตัวตน เมื่อทำกระบวนการให้กับผู้อื่นต่อไป

เนื่องจากงานวอยซ์ไดอะล็อกเป็นกระบวนการที่ผู้ทำกระบวนการจะนำเอาชุดของทักษะเฉพาะตนอันหลากหลาย, พรสวรรค์, และประสบการณ์ตรงทั้งหมดในชีวิตของตนเองมาใช้ จึงไม่มีกฏเกณฑ์ที่ตายตัวและลัดสั้น ในข้อที่ว่า กระบวนการบ่มเพาะพัฒนาทักษะเหล่านี้จะต้องใช้เวลามากเท่าไหร่ ตามประสบการณ์โดยทั่วไปของพวกเรา โดยส่วนใหญ่มักใช้เวลานานประมาณสามถึงห้าปี ก่อนที่จะสามารถเป็นผู้ทำกระบวนการวอยซ์ไดอะล็อกที่มีประสบการณ์ และสามารถดูแลกระบวนการที่ส่งเสริมให้เกิดความเปลี่ยนแปลงได้, นี่นับเฉพาะเมื่อบุคคลนั้นเคยมีประสบการณ์ส่วนตัวในการทำงานกับชุดพลังงานต่างๆ หรือทักษะการทำงานในทางจิตวิทยากับผู้อื่นมาก่อนหน้าแล้ว หากบุคคลนั้นยังไม่เคยได้ฝึกฝนพัฒนาทักษะการฟังที่ดี และมีทักษะการทำงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่จำเป็นต่างๆมาก่อน, ไม่ว่าจะเป็นทักษะส่วนบุคคลหรือทักษะตามวิชาชีพก็ตาม, กระบวนการการบ่มเพาะพัฒนาทักษะการเป็นผู้ทำกระบวนการวอยซ์ไดอะล็อกดังกล่าว มีแนวโน้มมากที่จะใช้เวลายาวนานกว่านั้นออกไปอีก

เราพบว่าการพัฒนากระบวนการส่วนบุคคลของตัวผู้ทำกระบวนการ มีองค์ประกอบต่างๆดังนี้ : ได้เข้ารับการทำกระบวนการวอยซ์ไดอะล็อกของตนเองอย่างสม่ำเสมอเพื่อ :

  • ดำรงอยู่ในกระบวนการตระหนักรู้ถึงรูปแบบตัวตนหลัก และรูปแบบตัวตนที่ถูกปฏิเสธของตัวผู้ทำกระบวนการเอง อย่างต่อเนื่องเสมอ
  • ทำงานกับชุดรูปแบบตัวตนที่กว้างขวางหลากหลายขึ้นไปเรื่อยๆ
  • แยกตนออกจากชุดพลังงานขั้วตรงข้ามคู่หลักๆได้เป็นจำนวนมากพอ
  • มีการตระหนักรู้ถึงด้านบอบบางของตนเอง
  • มีการตระหนักรู้ - และถือเป็นหน้าที่รับผิดชอบของตนเอง - ต่อรูปแบบของแบบแผนเชื่อมโยงในความสัมพันธ์ ที่เกิดขึ้นในความสัมพันธ์ต่างๆ ของตน

ฝึกฝน:

  • สัมผัสและเชื่อมโยง กับร่างกาย, ลมหายใจ และ เสียงของตนเอง
  • สัมพันธ์กับจิตไร้สำนึก ผ่านกระบวนการทำงานกับความฝัน และความฝันยามตื่น, และสำรวจลงไปในระดับชั้นที่ลึกขึ้น ทั้งในระดับของพลังงานแม่แบบสากลต่างๆ และระดับการข้ามพ้นตัวตนของจิต
  • มีประสบการณ์ในการทำงานกับพลังงานต่างๆ - เช่น การตั้งศูนย์, การปลุกความรู้สึกตัว, การผ่อนคลาย, การวางแนวพลังงาน - รวมถึงการมีวิถีปฏิบัติที่ให้ความใส่ใจ ทั้งกับพลังงานของตนเอง และการเชื่อมโยงทางพลังงาน (linkage) ระหว่างตนเองกับผู้อื่น

มื่อสังเกตดูชุดทักษะที่จำเป็น ในการทำหน้าที่ผู้ทำกระบวนการวอยซ์ไดอะล็อก, เราเห็นว่าสิ่งเหล่านี้ ส่วนหนึ่งมาจากผลลัพท์ในการทำกระบวนการตระหนักรู้ส่วนบุคคลของตัวผู้ทำกระบวนการเอง, และในขณะเดียวกัน ผู้ทำกระบวนการวอยซ์ไดอะล็อกควรมีพื้นฐานเชิงทฤษฎี และได้รับการฝึกฝนมามากพอสมควรด้วย

ทักษะเหล่านี้ประกอบไปด้วย :

  • มีความสามารถในการประเมินว่า ผู้รับกระบวนการรายใดเหมาะที่จะทำกระบวนการนี้ได้ และรายใดที่ควรปฏิเสธการรับทำกระบวนการ หรือควรจะแนะนำต่อให้กับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง นี่คือกลไกเพื่อความปลอดภัยในขั้นพื้นฐานที่สุดสำหรับการปฏิบัติงานกระบวนการ และสำคัญเป็นพิเศษสำหรับผู้ทำกระบวนการวอยซ์ไดอะล็อกที่ไม่ได้ผ่านการฝึกฝนในสายงานด้านจิตอายุรเวทมาก่อน
  • ฝึกฝนความสามารถในการทำกระบวนการวอยซ์ไดอะล็อก ผ่านกระบวนการเท่าทันสภาพการมีตัวตน, ในฐานะที่เป็นคุณสมบัติพื้นฐานในการยอมรับผู้เข้ารับกระบวนการได้อย่างไร้เงื่อนไข และเพื่อสามารถประคับประคองและเป็นตัวอย่างของกระบวนการเท่าทันสภาพการมีตัวตนให้แก่ผู้เข้ารับกระบวนการได้
  • ฝึกฝนความสามารถในการทำกระบวนการวอยซ์ไดอะล็อก ผ่านกระบวนการเท่าทันสภาพการมีตัวตน, ในฐานะที่เป็นคุณสมบัติพื้นฐานในการยอมรับผู้เข้ารับกระบวนการได้อย่างไร้เงื่อนไข และเพื่อสามารถประคับประคองและเป็นตัวอย่างของกระบวนการเท่าทันสภาพการมีตัวตนให้แก่ผู้เข้ารับกระบวนการได้

การจะเป็นผู้ทำกระบวนการวอยซ์ไดอะล็อกที่มีทักษะ เป็นกระบวนการเรียนรู้, ซึ่งไม่เป็นเส้นตรงไปตามลำดับ-ตามระยะเวลา, อันประกอบไปด้วยขั้นตอนต่างๆดังนี้ :

ขั้นแรก

  • ได้รับการฝึกฝนเบื้องต้น และรักษาการเข้ารับการฝึกอย่างต่อเนื่อง สำหรับทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติในงานกระบวนการวอยซ์ไดอะล็อก
  • ได้รับการทำกระบวนการวอยซ์ไดอะล็อกของตนเอง มาจำนวนมากเพียงพอ และอย่างสม่ำเสมอ กับผู้ทำกระบวนการวอยซ์ไดอะล็อกที่มีความชำนาญ
  • ได้สังเกตการณ์การทำกระบวนการวอยซ์ไดอะล็อก จากผู้ทำกระบวนการวอยซ์ไดอะล็อกที่มีประสบการณ์
  • ฝึกฝนการทำกระบวนการวอยซ์ไดอะล็อกกับคู่ฝึกที่หลากหลาย ภายใต้การกำกับดูแลจากผู้มีประสบการณ์

ขั้นที่ 2

  • ทำกระบวนการวอยซ์ไดอะล็อกให้กับผู้รับกระบวนการ อยู่อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
  • จัดการให้ตนเองได้อยู่ในกระบวนการต่อเนื่อง ที่จะได้รับเสียงสะท้อนที่เป็นกลาง สำหรับการทำกระบวนการวอยซ์ไดอะล็อกที่ได้ทำไป รวมถึงในส่วนของกระบวนการตระหนักรู้ส่วนบุคคลของตนเองด้วย การจัดการนี้สามารถเกิดขึ้นในหลายรูปแบบ

การเป็นผู้ทำกระบวนการวอยซ์ไดอะล็อกที่มีประสบการณ์, และมีความเชี่ยวชาญ คือกระบวนการของการพัฒนา จะมีช่วงเวลาหนึ่งที่ผู้ทำกระบวนการวอยซ์ไดอะล็อกที่มีทักษะชำนาญ จะเริ่มรู้สึกคุ้นเคยเป็นธรรมชาติมากขึ้นเรื่อยๆกับงาน ความสามารถและองค์ความรู้เหล่านั้นจะดำรงคงอยู่ในเนื้อในตัว เมื่อนั้น เธอ/เขา จะสามารถเริ่มทำงานกระบวนการวอยซ์ไดอะล็อกอย่างเป็นปัจเจกด้วยตนเองได้, ในขณะที่ยังคงรักษาการฝึกกระบวนการตระหนักรู้ส่วนบุคคลของตนเองไว้เสมอ และยังคงการศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติมในตัวงานต่อไป

ไม่มีความจำเป็นที่ผู้ทำกระบวนการวอยซ์ไดอะล็อก (Voice Dialogue facilitators) จะต้องมาเป็นครูวอยซ์ไดอะล็อก (Voice Dialogue teachers), แต่หากต้องการทำเช่นนั้น, อันดับแรกผู้นั้นจำเป็นต้องมีคำมั่นที่จะใช้งานวอยซ์ไดอะล็อก ทั้งในกระบวนการส่วนตัวของตนเอง และในการทำกระบวนการวอยซ์ไดอะล็อกให้กับผู้อื่น ตามประสบการณ์ที่ผ่านมาของเรา กระบวนการในการที่จะก้าวเข้ามาเป็นครูวอยซ์ไดอะล็อกนั้น ประกอบไปด้วยองค์ประกอบต่างๆดังนี้ รวมไปถึงการพัฒนาทักษะต่างๆที่จำเป็นต้องมีเพิ่มเติมเพื่อที่จะทำกระบวนการวอยซ์ไดอะล็อก :

  1. เป็นผู้ทำกระบวนการวอยซ์ไดอะล็อกที่มีประสบการณ์ (อย่างน้อย 3-5 ปี)
  2. เป็นผู้ช่วยสอนในหลักสูตรฝึกฝนงานวอยซ์ไดอะล็อก
  3. การฝึกสอนส่วนต่างๆ ภายใต้การดูแลจากผู้มีประสบการณ์ เป็นส่วนหนึ่งของการฝึกด้วย
  4. มีประสบการณ์และทักษะ ในการใช้พลังงานต่างๆในกระบวนการกลุ่ม
  5. มีทักษะด้านการสอน และด้านการดูแลพลวัตรกลุ่ม
แนวทางจรรยาบรรณ

จรรยาบรรณ หมายความถึง พฤติการณ์ของผู้ทำกระบวนการวอยซ์ไดอะล็อก และครูวอยซ์ไดอะล็อก ทั้งต่อผู้เข้ารับกระบวนการ, นักเรียน และต่อผู้ร่วมงาน สิ่งต่างๆที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ คือบางส่วนจากคุณค่าที่เราพิจารณาเห็นว่ามีความสำคัญมากที่สุด สำหรับผู้ทำกระบวนการวอยซ์ไดอะล็อก หรือครูวอยซ์ไดอะล็อก :

  • ยังคงทำกระบวนการส่วนบุคคลของตนเองในงานวอยซ์ไดอะล็อกอยู่เสมอ
  • รักษาความเป็นส่วนตัวของผู้เข้ารับกระบวนการ ในแง่ของการระบุตัวบุคคล, ประเด็นที่ทำกระบวนการ, และของตัวงานเอง
  • ทำกระบวนการภายในขอบเขตความสามารถที่ตนเองทำได้จริง และในขอบเขตของความต้องการของผู้รับกระบวนการ
  • ให้ความกระจ่างชัดเจนเสมอกับผู้เข้ารับกระบวนการ เกี่ยวกับแนวทางในการทำงานวอยซ์ไดอะล็อกของผู้ทำกระบวนการ (เช่น ในแนวทางแบบ งานโค้ชชิ่ง, งานให้คำปรึกษา, งานบำบัด...) และสิ่งใดบ้างที่ผู้เข้ารับกระบวนการสามารถคาดหวังกับตนได้
  • ส่งต่อผู้เข้ารับกระบวนการให้กับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางหากพบว่ามีความจำเป็น*
  • ไม่ใช้ความสัมพันธ์ที่มีกับผู้เข้ารับกระบวนการวอยซ์ไดอะล็อก หรือกับนักเรียนวอยซ์ไดอะล็อก ไปในทางที่เป็นการได้เปรียบ หรือเป็นประโยชน์กับตนเอง
  • ให้ความเคารพต่อสิทธิ์ในการตัดสินใจของผู้เข้ารับกระบวนการหรือนักเรียน ที่จะจบความสัมพันธ์ดังกล่าวลงได้ตลอดเวลา
  • มีการตระหนักในขอบเขตความสามารถของตนเองในฐานะผู้ทำกระบวนการวอยซ์ไดอะล็อก และแนะนำส่งต่อผู้เข้ารับกระบวนการวอยซ์ไดอะล็อกให้กับผู้ทำกระบวนการคนอื่นๆหากมีความจำเป็นหรือความประสงค์
  • มอบคำมั่นที่จะทำงานกับทุกๆประเด็นทางความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ที่ปรากฏขึ้นในระหว่างเหล่าผู้ร่วมงาน
  • รักษาความโปร่งใสและชัดเจน ในความสัมพันธ์เชิงวิชาชีพต่างๆ ที่มีระหว่างกันภายในชุมชนวอยซ์ไดอะล็อก
  • รักษาการตระหนักรู้ในรูปแบบเชื่อมโยงทางความสัมพันธ์ต่างๆ ที่อาจมีปรากฎขึ้นในความสัมพันธ์ ระหว่างผู้เข้ารับกระบวนการ และผู้ทำกระบวนการวอยซ์ไดอะล็อก (การถ่ายโอนทางความสัมพันธ์ และ การถ่ายโอนทางความสัมพันธ์ย้อนกลับ) และรับผิดชอบดูแลส่วนที่ตนเกี่ยวข้องในรูปแบบความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้น; ให้ความใส่ใจอย่างยิ่งยวดที่จะไม่เข้าไปอยู่ในความสัมพันธ์เชิงชู้สาว ทั้งในแง่ของความรู้สึกรักใคร่และในแง่ความสัมพันธ์ทางเพศ กับผู้เข้ารับกระบวนการ หรือกับนักเรียนปัจจุบัน
  • ให้เกียรติและให้ความเคารพต่อผู้ทำกระบวนการวอยซ์ไดอะล็อกคนอื่นๆก่อนหน้าของผู้เข้ารับกระบวนการ
  • ปฏิบัติตามกฏหมายในประเทศและเขตแดนของตน ว่าด้วยแนวทางการปฏิบัติวิชาชีพ, ภาระหน้าที่และขอบเขตจำกัด (อาทิ ปฏิบัติวิชาชีพได้เฉพาะในขอบเขตของใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ), การชำระค่าธรรมเนียมประกอบวิชาชีพ และภาษีต่างๆ, โครงสร้างทางกฏหมายสำหรับการประกอบวิชาชีพ

* ผู้ปฏิบัติวิชาชีพ/ครูวอยซ์ไดอะล็อก, โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ไม่ได้ผ่านการฝึกเฉพาะทางมาในงานด้านจิตวิทยาคลีนิค, จำเป็นต้องเรียนรู้เพื่อที่จะสังเกตเห็นได้ ถึงสัญญาณเตือนต่างๆ ที่บ่งบอกถึงอาการเจ็บป่วยทางจิตเวช/ภาวะถูกรบกวนทางจิตในรูปแบบต่างๆ - โรคจิต, อาการซึมเศร้า, ภาวะผิดปรกติทางบุคลิกภาพรูปแบบต่างๆ, ฯลฯ - ความรู้ความเข้าใจเหล่านี้จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติวิชาชีพ/ครูวอยซ์ไดอะล็อก, ได้ยิ่งกว่าสิ่งอื่นๆ, ที่จะตัดสินใจว่าเมื่อใดที่ตนไม่ควรทำงานกระบวนการ/ให้การฝึกฝนกับผู้หนึ่งผู้ใด แต่ควรที่จะส่งต่อบุคคลนั้นให้กับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มีความสามารถเหมาะสมกับกรณีแทน ไม่ว่าในกรณีใดก็ตาม, งานวอยซ์ไดอะล็อกไม่สามารถใช้ทดแทนการรักษาพยาบาลทางการแพทย์ได้

แนวทางสำหรับทำเนียบรายชื่อผู้เห็นพ้องกับ ไอวีดีเอ

เพื่อลงชื่อไว้ในทำเนียบรายชื่อผู้เห็นพ้องตามข้อตกลงร่วมวอยซ์ไดอะล็อกนานาชาติ ให้ระบุรายละเอียดดังต่อไปนี้

  • ชื่อ-สกุล
  • ชื่อ และ ที่อยู่ ของธุรกิจ
  • อีเมล์ และ เว็บไซท์ (ลิงค์โดยตรง)
  • ภาษาที่สามารถสื่อสารได้
  • ประวัติ: คุณวุฒิ (ระดับวิชาชีพ, การศึกษา, การฝึกฝนที่มีมาในกระบวนการวิธีอื่น ๆ)
  • การฝึกฝนในงานวอยซ์ไดอะล็อกที่เคยได้รับ: สถานที่ใด, เมื่อไร, กับครูท่านใด, เป็นจำนวนกี่ชั่วโมง/วัน/ปี
  • การฝึกฝนเรียนรู้ต่อเนื่อง และ/หรือ การอยู่ในการกำกับดูแลของผู้สอนงานวอยซ์ไดอะล็อก: ให้ระบุประสบการณ์ที่มีล่าสุด, การเข้ารับการกำกับดูแลครั้งล่าสุด, การเข้าร่วมประชุม, การประชุมเชิงปฏิบัติการ....
  • แนวทางหลักส่วนบุคคลในการทำงาน: กลุ่มเป้าหมายที่ทำงานด้วย, การนำมาใช้กับเทคนิคอื่นๆ, อธิบายรูปแบบการปฏิบัติงานโดยย่อ

ในทำเนียบรายชื่อนี้ คาดหวังว่าสมาชิกในรายชื่อจะรับผิดชอบต่อข้อมูลที่ตนใส่ไว้ และคอยปรับปรุงให้เป็นปัจจุบันทุกปี ข้อมูลทั้งหมดควรสามารถตรวจสอบได้

ติดต่อเรา

เอกสารชุดนี้สำเร็จลุล่วงได้ โดยความร่วมมืออย่างแน่นแฟ้นในระดับนานาชาติ

Geneviève Cailloux

Geneviève Cailloux

cailloux.genevieve(at)gmail.com

ฝรั่งเศส

Think Tank member

Pierre Cauvin

Pierre Cauvin

pcauvin2(at)gmail.com

ฝรั่งเศส

Think Tank member

J aime Ona Pangaia

J'aime Ona Pangaia

vdcnw(at)comcast.net

สหรัฐอเมริกา

Think Tank member

RB

Robert Stamboliev

info(at)voicedialogueworld.com

เนเธอร์แลนด์

Think Tank member

J. Tamar Stone

J. Tamar Stone

jtamar(at)voicedialogueconnection.com

สหรัฐอเมริกา

Think Tank member

ML

Myriam Ladeuze

myriam.ladeuze(at)acavd.com

เบลเยียม

Website - IVDA team member

ฮัล และ ซิดรา สโตน
กล่าวเกี่ยวกับ ข้อตกลง IVDA:

'เราขอปรบมือชื่นชมให้กับความพยายามอย่างไม่รู้เหน็ดเหนื่อย และการทุ่มเทมั่นอย่างต่อเนื่องของทีมบุกเบิกการร่าง IVDA ทีม “Think Tank” ที่เป็นหัวหอกและถือเอาความรับผิดชอบในการพัฒนาเอกสารเหล่านี้ขึ้นมา นี่เป็นการแสดงออกถึงความทุ่มเทอย่างมหาศาลในส่วนของตัวพวกเขาเอง เรารู้สึกยินดีพอใจที่พวกเขาได้ดำเนินขั้นตอนที่จะสร้างความร่วมมือระหว่างกัน และการรวมตัวกันขึ้น ของชุมชนวอยซ์ไดอะล็อกในระดับนานาชาติ อันกว้างขวางมากยิ่งขึ้น และเราเข้าใจเป็นอย่างดีว่า พวกเขาได้พยายามอย่างดีที่สุดแล้ว ที่จะรวมเอาเนื้อหาที่เพิ่มเติมขึ้นเป็นพิเศษนี้เข้ามาไว้ด้วย

ความพยายามทั้งหมดทั้งมวลนี้ได้สร้างผลลัพท์ที่ยอดเยี่ยม เรารู้สึกว่าเอกสารเหล่านี้ได้รักษาไว้ซึ่งจิตวิญญาณพื้นฐานของตัวงาน - และคุณค่าต่างๆในแบบของงานจิตวิทยา-เชิงจิตวิญญาณ อันเป็นรากฐานที่งานนี้ได้แสดงตัวออกมา แม้ว่าพวกเขาจะมีการนำเสนอเกณฑ์บรรทัดฐานด้วยวัตถุประสงค์ที่จะปกป้องคุณภาพของการทำกระบวนการและการสอนก็ตาม จิตวิญญาณของตัวงานก็ได้รับการปกป้อง ด้วยการสื่อให้สัมผัสได้ ถึงความเป็นกระบวนการอันต่อเนื่อง, การมีพื้นที่ให้กับการวิวัฒน์ของจิตสำนึก (หรือการเผยแสดงออก ของระบบระเบียบแห่งภูมิปัญญาของจักรวาล), และหลีกเลี่ยงการสร้างข้อเรียกร้องที่ตายตัว เพราะเส้นทางของปัจเจกบุคคลแต่ละคน-และกระบวนการเท่าทันสภาพการมีตัวตน-ของคนแต่ละคนนั้น เป็นเอกลักษณ์ที่ไม่มีใครเหมือนอย่างใคร การมอบคำมั่นต่อการรักษาคุณภาพ และการให้การระมัดระวังป้องกันอย่างเหมาะสม ได้ถูกแสดงไว้เป็นอย่างดี ด้วยการนำเสนอผ่านแนวทางจรรยาบรรณ และการระบุแจกแจงถึงข้อแนะนำต่างๆ ทั้งสำหรับทักษะขั้นพื้นฐานที่ต้องมีก่อน และสำหรับการดำรงคงอยู่ในกระบวนการอย่างต่อเนื่อง ที่จำเป็นต่อการทำกระบวนการและการสอนอย่างมีความสามารถจริง'

ฮัล สโตน และ ซิดรา สโตน
อัลเบียน, กันยายน 2009

รายชื่อผู้ปฏิบัติธรรม